เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารอย่างมีวิจารณญาณ
และสามารถอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
เผยแพร่ความรู้จากการเลือกซื้อของผู้บริโภคของตนเองให้ผู้อื่นเรียนรู้ได้
และปรับใช้ความรู้กับการดำเนินชีวิตของนักเรียนได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
18
15 - 19
ก.ย. 2557
|
โจทย์
- การเลือกซื้อ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
Key Questions
- นักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าเครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก. มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่เราเลือกซื้อมารับประทานอย่างไร
เครื่องมือคิด
Place mat
นักเรียนแต่ละคนเขียนวิธีเลือกซื้ออาหารอย่างไร
ให้รู้หลักและปลอดภัย
Brainstorm
นักเรียนในกลุ่มช่วยกันคิด
เลือกวิธีการเลือกซื้ออาหาร
Show and Share
- นำเสนอวิธีการเลือกซื้ออาหารที่สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- นำเสนอกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
อย กับ สบท มีความสำคัญอย่างไร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับผู้ซื้อ เลือกอาหารตามท้องตลาด
- ภาพสัญลักษณ์ เครื่องหมาย
อย. เครื่องหมาย มอก.-
คอมพิวเตอร์
|
จันทร์
เชื่อม : ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่เรียนผ่านมาแล้วสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่
ชง : ครูชวนนักเรียนคุยเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารมารับประทาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารจากตลาดสด
ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของชำ เป็นต้น
อังคาร
- ครูช่วยระตุ้นคำถามชวนคิด
เพื่อให้นักเรียนได้อธิบายความเข้าใจ
-
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละเท่าๆ กัน ให้นักเรียนช่วยกันคิดวิธีการเลือกซื้อของแต่ละคน
place mat
- นักเรียนเลือกซื้ออาหารเองตามสิ่งที่ตนเองนำเสนอ
(ให้ผู้ปกครองช่วยแนะนำเพิ่มเติม)
พุธ
ชง : ครูสอบถามความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับ
เครื่องหมายเกี่ยวกับการบริโภค
และ - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก. มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่เราเลือกซื้อมารับประทานอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น อธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับ เครื่องหมาย
อย. เครื่องหมาย มอก.
- ครูช่วยระคุ้นคำถามชวนคิด
เพื่อให้นักเรียนได้อธิบายความเข้าใจ
-
นักเรียนสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับความสำคัญของ เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก.
- ครูช่วยระคุ้นคำถามชวนคิด
เพื่อให้นักเรียนได้อธิบายความเข้าใจ
ศุกร์
ใช้ : นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาสร้างชิ้นงานชาร์ตความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค(เครื่องหมาย
อย. เครื่องหมาย มอก.)
เชื่อม : นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับชิ้นงานกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
-
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่เรียนผ่านมา
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้อสิ้นค้าอย่างปลอดภัย
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องหมาย
อย. เครื่องหมาย มอก. มีความสำคัญอย่างไรกับผู้บริโภค
-
นักเรียนอภิปรายข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
-
นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- place mat การเลือกซื้ออาหารอย่าง
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
-
ชาร์ตเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจการเลือกซื้ออาหารอย่างมีวิจารณญาณ
และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การมีส่วนร่วมในการหาข้อมูล
ปรึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ชิ่งกันและกัน การช่วยเหลือผู้อื่น
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับสืบค้นหาข้อมูลกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ทักษะการเรียนรู้
-สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงความเข้าใจของตนเองที่หามา
แลกเปลี่ยนกับข้อมูลของเพื่อนในเรื่องการเลือกซื้ออาหารให้ปลอดภัย
-สามารถเลือกซื้ออาหารอย่างมีวิจารณญาณและถ่ายทอดความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคให้ผู้อื่นได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการในเรื่องการเลือกซื้ออาหารให้ปลอดภัย
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์กิจกรรมการเลือกซื้ออาหารอย่างปลอดภัย
และอภิปรายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|

ครูพานักเรียนเล่นเกมจับคู้บัดดี้หาคู่เพื่อทำงานสรุปเนื้อหาเกลือแร่ กับวิตามิน โดยครูใช้เกมกรรไกวิเศษในทุกคนได้คู่ทำงาน โดยครูกำหนดประเด็นให้ทุกคู่ ได้แบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ เพื่อสืบค้นข้อมูลนำมาแชร์ถ่ายทอดให้ครูและเพื่อนๆ ได้ซักถามข้อสงสัย
โดยแต่ละคู่ได้นำเสนอความคืบหน้าของงานที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้น
พอคู่ไหนเสร็จก่อนครูให้ทุกคู่ มานำเสนอShow and share ความเข้าใขของงานใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยครูอำนวยกิจกรรม ใช้คำถามกระตุ่นเร้าการคิดอย่างสม่ำเสมอ ให้นักเรียนทุกคนได้รับฟังและเขียนความเข้าใจเพิ่มเติมลงในสมุดPBL อีกครั้ง ตามความรู้ใหม่ที่ทุกคนเข้าใจ
ในเรื่องที่จะเรียนในสัปดาห์นี้จริงๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ให้นักเรียนแต่ละคนนำเนื้อหาที่สืบคนมาแชร์กัน และครูณีแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 3 คน ให้นำเนื้อความนี้มาแต่เป็นเพลง ถ่ายทอดให้ครูและเพื่อนๆ ร่วมกันรับชมกัน
เสียดายเวลาแห่งการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้หมดไปก่อน ก็เลยยกกรณ๊แต่เพลงให้ทุกคนไปคิดเพิ่มเติมเนื้อหาลงในเพลง
คลิปกิจกรรม ตลาดสดของเด็กๆ แต่ละกลุ่ม
http://www.youtube.com/channel/UCw2XNuQSYVMnwtxdWkvgeaQ
สิ่งที่สะท้อนว่า พี่โฟร์ท (ม.1) ได้อะไรบ้างจากกระบวนการเรียนรู้ PBL
ตอบลบแก่นเรื่อง
- สรุปชิ้นงาน / นำเสนอ เกี่ยวกับสารอาหารประเภทเกลือแร่กับวิตามิน
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากตัวอย่างสรุปสัปดาห์ของพี่โฟร์ท เลขที่ 13
- การวิเคราะห์ข้อมูล: พี่โฟร์ทและเพื่อนๆ ได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารประเภทเกลือแร่กับวิตามินมาขมวดให้เป็นชิ้นงานและนำเสนอข้อมูลงานกลุ่มกับเพื่อนๆ และได้แต่งเพลงเพื่อสื่อความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- การนำเสนอข้อมูล : พี่โฟร์ทนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นงานสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ และแต่งเพลงเกี่ยวกับสัญลักษณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค อย. หรือ มอก. เพื่อนำมาแต่งเพลงขับร้อง นำเสนอเพื่อนๆ และคุณครูรับฟังร่วมกัน
- การวางแผนการทำงาน : พี่โฟร์ทและเพื่อนๆ สรุปสารอาหารประเภทเกลือแร่กับวิตามิน และทำงานกลุ่มละ 3 คน ร่วมกับเพื่อนช่วยกันแต่งเพลงจากข้อมูลกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- การทำงานร่วมกัน : พี่โฟร์ทและเพื่อนๆ ในกลุ่ม ช่วยกันคิดเพลงเพื่อที่จะถ่ายทอดให้ผู้รับชมเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และคิดกระบวนการนำเสนอข้อมูลจากชิ้นงานสารอาหารประเภทเกลือแร่และวิตามิน
- การให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์ : พี่โฟร์ทและเพื่อนๆ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารประเภทเกลือแร่กับวิตามิน ให้เพื่อนๆ ซักถาม พี่โฟร์ทสามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับการตอบคำถามต่างๆ พร้อมมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการออกแบบเพลงขับร้องเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
คุณลักษณะ : พี่โฟร์ทมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับหาข้อมูล นำเสนอ และออกแบบเพลงเพื่อขับร้องให้เพื่อนๆ และคุณครูรับฟัง ตามเวลาที่กำหนดและถ่ายทอดออกมาผ่านจินตนาการของสมาชิกในกลุ่ม และในสัปดาห์นี้เป็นการเก็บเกี่ยวข้าว 4 เมล็ด ข้าวของพี่โฟร์ทได้ 343 เมล็ด และได้เล่าถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอด 120 วัน ในการปลูกครั้งนี้ เพื่อจะนำไปปรับแก้ในครั้งต่อๆ ไป